Wednesday, January 28, 2015

意味がたくさんある言葉 part2

ย้าฮู้~มาแล้วๆๆ อัพซะดึกเลย พรุ่งนี้มีเรียนเช้าด้วย ขอมาแบบสั้นๆและไปเร็วๆเลยนะ

วันนี้จะมาพูดถึงคำว่า 言う 教える และ伝えるกันคะ
ถ้าถามว่ามันต่างกันยังไง ทุกคนต้องรู้กันอยู่แล้วละ
言う คือพูด แบบแค่ถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นคำพูดออกมา เทียบกับภาษาอังกฤษง่ายมาก คือ he said...she says...
教える คือบอก หรือสอน คล้ายๆแจ้งให้ทราบ บอกให้รู้ ประมานนั้น
伝える คือแจ้งให้ผู้อื่นทราบ บอกต่อ เผยแพร่ (เผยแพร่ศาสนาก็ใช้คำนี้นะ) ส่งข้อความต่อไปยัง อะไรอย่างงี้ก็ได้

แต่สามคำเนี้ย มันเบสิกเกินไป ถ้าเกิดเรามีfeelingที่ต้องการจะ แจ้งอะไรให้ใครทราบ ป่าวประกาศออกไป แบบต้องการให้คนเค้ามีความรู้สึกร่วมไปกับเรา เราจะใช้คำว่า

訴える อ่านว่า うったえる

โดยปกติคำนี้มักจะแปลว่า ฟ้อง เช่นฟ้องศาล ฟ้องเจ้านาย
ตัวอย่างประโยคมาค่ะ 患者の家族は医療ミスで病院を訴えた。
แปลว่า ครอบครัวของผู้ป่วยฟ้องร้องโรงพยาบาลฐานความผิดพลาดทางการแพทย์
แต่นอกจากฟ้องแล้ว 訴える ยังใช้ในความหมายแจ้งให้ทราบได้อีกด้วย
เช่น 太郎くんは腹痛を先生に訴えている。
แปลว่า ทาโร่คุงแจ้งอาการปวดท้องให้อาจารย์ทราบ
การแจ้งในที่นี้มักจะแจ้งอาการ不満 หรือ 症状ของร่างกาย มากกว่าจะเเจ้งเรื่องทั่วๆไป เพราะถ้าทั่วๆไปก็กลับไปใช้教えるแบบเดิมเหอะ แต่訴える มีมีเซนต์ของการเรียกร้องให้เห็นใจฉันหน่อยและช่วยรับรู้ทีว่าชั้น不満อยู่

อีกความหมายที่ใช้ได้คือ ป่าวประกาศ
เช่น市民は戦争反対を訴えるデモを行った。
แปลว่า ชาวบ้านออกมาประท้วงต่อต้านสงคราม






แหม่ พอแปลออหมาเป็นไทยนี่ไม่มีคำว่าป่าวประกาศเลยนะ แต่ทุกคนเห็นภาพใช่มะ มันไม่ใช่戦争反対を伝えるためのデモ แต่มันประกาศแบบเเสดงความประสงค์ จึงประกาศ

อีกคำนึงที่น่าสนใจคือ 削る อ่านว่าけずる ที่ปกติเราจะคุ้นกันในความหมายว่า เหลา
เช่น えんぴつをナイフで削る。
แปลว่า เหลาดินสอด้วยมีด

อีกความหมายหนึ่งของคำนี้คือ ลด ลดแบบ減る ลดแบบตัดออกไป
เช่นゲームをやる時間を削って、一生懸命勉強しようと思う。
แปลว่า ตั้งใจว่าจะลดเวลาเล่นเกมลงแล้วมุ่งมั่นเรียนหนังสือ
ลดในที่นี้ไม่ได้ลดที่ปริมาณ แต่ลดแบบตัดส่วนหนึ่งออกไปเพื่อไปทำสิ่งอื่น นั้นเอง

สรุปก็คือ คำกริยาบางคำที่เรามีในคลังน้อยๆของเราเนี่ย บางทีเราคิดว่ามันเยอะเเล้ว แต่จริงๆมันยังไม่เยอะนะ บางบริบทเรามัวแต่ไปใช้คำซ้ำๆกะสถานการณ์ตัวอย่างในหนังสือเรียน มันอาจจะสื่อความได้ไม่ครบก็ได้นะ เพราะฉะนั้น หมั่นทบทวนบ่อยๆและอย่ายอมแพ้นะทุกคน สู้ๆ ฮึ้บๆๆๆ

มาอ่านข่าวญี่ปุ่นในไทยกันมั๊ยเอวี่บอดี้ <<อันนี้นอกเรื่องนะ

รู้สึกมั๊ยว่าระยะหลังๆมานี้ คนญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในไทยกันเยอะมาก

เยอะมากแบบเข้ามาอยู่เลยนะ ไม่ใช่มาเที่ยวเเล้วกลับไป

ไม่ต้องไรมาก ถ้าขึ้นรถไฟฟ้าทุกวัน เฉลี่ยต่อสัปดาห์ต้องได้ยินเสียงภาษาญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า5วันแน่ๆอะ เราคอนเฟริม

พอคนญี่ปุ่นมาอยู่ไทยมากขึ้น สิ่งที่ตามมา(แบบไม่น่าจะตามมา) คือ ข่าว

ข่าวใดๆก็ตามที่เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นในไทย มักจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ อย่างน้อยๆก็จากเราเองแหละ

ทีนี้ เราไปคิดถึงข่าวหนึ่ง เรื่องชายคนญี่ปุ่นจ้างคนไทย'อุ้มบุญ'

อุ้มบุญคืออะไร
อุ้มบุญคือการเอาน้ำเชื้อของฝ่ายชายไปใส่ไว้ในรังไข่ของฝ่ายหญิง แล้วให้ผู้หญิงคนนั้นอุ้มท้องไปจนครบกำหนดคลอด พอคลอดออกมา เด็กคนนั้นจะไม่ถือเป็นลูกของผู้อุ้มครรภ์แต่จะเป็นลูกของผู้เป็นเจ้าของน้ำเชื้อแทน

เอิ่ม ยาก


เอาละ แต่คำถามคือ ถ้าต้องแปลข่าวนี้ หรืออธิบายเรื่องนี้ เป็นภาษาญี่ปุ่น จะทำยังไงดี

#น้ำลายฟูมปากแปปนะ
จากการไถ่ถามผู้รู้ ซึ่งก็คืออาจารย์สอนพิเศษของเราเอง ได้ความว่า
คำที่น่าจะสื่อความหมายได้ตรงที่สุดน่าจะเป็นคำว่า代理出産 อ่านว่า だいりしゅっさん มันไม่ใช่คำหนึ่งคำหรอกนะ มันคือการเอาคำสองคำมาชนกัน
代理(だいり)แปลว่า การทำแทนกัน หรือจัดการโดยยืมความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม อะไรประมานนี้
เช่น 会議に社長の代理で出席している。
แปลว่า เข้าร่วมการประชุมแทนท่านประธาน

ส่วน 出産 (しゅっさん) แปลว่า คลอด หรือให้กำเนิดนั้นแหละ สังเกตคันจิ 出 มักจะมีความหมายเกี่ยวกับอะไรที่ออกมาใช่ม้า คันจิอีกตัวคือ 産 เนี่ย อ่านอีกอย่างได้ว่า う ใน 産まれ แต่เป็นคันจิที่ไม่ค่อยนิยมใช้ เรามักจะใช้ 生まれ กันซะมากกว่า

ความหมายเดิมเด๊ะๆ เช่น 娘は男の子を出産しました
แปลว่า ลูกสาว ให้กำเนิด หลานชาย

โห ยากเนอะ ภาษาไทยอะยาก ยากซะจนคิดภาษาญี่ปุ่นไม่ออกเลย

โพสนี้สั้นๆ เพราะอีกโพสจะตามมา
รอแปปนะจ๊ะ


Friday, January 23, 2015

意味がたくさんある言葉 part1

สวัสดีค้า~



ただいまสู่ไทยแลนด์ ดินแดนข้าวมันไก่อร่อยกว่า รถติดกว่า และไชน่าทาวน์สกปรกกว่า เฮ้~
เพิ่งกลับมาแหละ สิงคโปร์ดีนะ เจอคนญี่ปุ่นด้วย หล่อ...
ไม่เกี่ยว!!
ที่เกี่ยวคือ วันนี้ เราจะมาพูดถึง"คำกริยา" ที่เราคุ้นเคยและเคยพูดกันทั้งนั้นแหละ (เราว่านะ)
แต่เราพูดแบบไม่โปรไง เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาอัพเวลกัน

เริ่มด้วย คำที่1 คำว่า"ซอย" ในที่นี้สงวนไว้แค่ซอยสิ่งของนะคะ เช่น ต้นหอมผักชีแครอทหัวไชเท้าผักกาดขาวกระเทียมส้มเขียวหวาน โอยพอ! อันสุดท้ายไม่ซอย
แต่ก็นั้นแหละค่ะ คำนี้เราพูดบ่อยเนอะ ประมานว่าชวนเพื่อนญี่ปุ่นมา料理会ที่หอแล้วอยากให้เค้าช่วยซอยネギให้หน่อย ปกติเราจะพูดว่า →細かく切ってもらう? หรือ →小さく切ってくださいね <<ซึ่งผิดนะ ถ้าเป็นเราเราจะไม่พูด

ไม่โปรเลยอะเธอ เราขอเเนะนำ คำว่า 刻む อ่านว่าきざむ แปลความหมายแรกว่า หั่นซอย
เช่น 野菜を刻んで、鍋に入れる。
แปลว่า หั่นผักแล้วใส่ลงในหม้อ
ง่ายจุง แค่นี้เอง คนญี่ปุ่นเกต 刻むในที่นี้คือการหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก หรือซอยนั้นแหละ 

อีกความหมายนึงคือ "สลัก" ที่ไม่ใช่แกะสลักนะ แต่คือสลักคำหรืออักษรย่อลงไปบนของแข็งๆ เช่น แหวน หิน ผนังถ้ำ
เช่น 指輪に恋人の名前が刻まれている。
แปลว่า สลักชื่อคนรักลงบนแหวน 
อารมณ์การสลักอะไรสักอย่างมันก็คือสลักนะ ถ้าเราใช้ 指輪に恋人の名前が書かれている。มันจะไม่ใช่อะ เพราะ書くคือเอาดินสอมาเขียน เเต่นี่คือสลัก แค่ภาษาไทยมันก็คนละอย่างกันนะ
นอกจากของแข็งๆแล้วยังสลักอย่างอื่นได้อีกด้วย แต่ความหมายจะเป็นนามธรรม
เช่น 先生の言葉が今も胸に深く刻まれている
แปลว่า จนถึงขณะนี้คำพูดของอาจารย์ยังสลักลึกอยู่ในใจ
ว้าวววววววว
มีอีกๆ อีกความหมายนึงของ刻むคือ "ผ่านช่วงเวลานานๆๆ" ลองอิมเมจผ่านดิ แบบซอยอะไรก็ต้องทำถี่ๆทำนานๆใช่มะ ก็คือผ่านกระบวนการหรือช่วงเวลามานานนั้นแหละ
เช่น この店が時間を刻んでも、そのまま残ってる。
แปลว่า แม้ร้านนี้จะผ่านมานานแต่ก็ยังคงอยู่สภาพเดิม
เป็นต้นนะคะ

อีกสักคำไหวมั๊ย
คำว่า 押すที่แปะไว้ตามประตูแปลว่า ผลัก แปะไว้บนก็อกน้ำหรือปุ่มทั่วไป แปลว่า กด แต่คันจิตัวนี้ยังมีความหมายอื่นอีกด้วยนะ

มาลองดูกัน ถ้าเป็น押さえるล่ะ
帽子が飛びないように押さえておく หรือ 彼女が苦しそうな顔をして、お腹を押さえている。
押さえるในที่นี้จะแปลว่าอะไรดี
น่าจะเป็น"กุม"เนอะ
ลองนักแอคชั่นดิ 
ผลัก กด ดัน กุม ในภาษาญี่ปุ่นคำหนึ่งคำหรือคันจิหนึ่งตัว ต่อให้มันแปลงร่างกลายเป็นคำอื่น ส่วนใหญ่ก็ยังคงคงรากศัพท์เดิมๆที่เราเคยเรียนตอนชั้นต้นมาเเล้วทั้งนั้นแหละ

อีกสักความหมายนะ 
会議の前に押さえてもらいたいことが二つがある
「押さえてもらいたいこと」ในที่นี้ อย่าแปลตรงๆว่าเรื่องที่อยากให้กดให้หน่อยนะ เพราะมันแปลว่า เรื่องที่อยากให้"สรุป"ให้หน่อยต่างหากละ
นึกภาพ(อีกแล้ว) เวลาเรากดอะไรสักอย่างมันก็เหมือนรวมอะไรที่ลอยๆอยู่ให้ลงมาที่ตรงจุดเดียวปะ เหมือน要点を押さえるนั้นแหละ

แค่นี้เอง ดีมั๊ย น่าเบื่อมั๊ย อธิบายงงมั๊ย ตัวอย่างน้อยไปมั๊ย
วันนี้เราพูดถึงศัพท์แค่สองตัวเองนะ คือ きざむ →หั่นซอย สลัก และผ่านกาลเวลา กับ 押さえる→ ผลัก กด ดัน กุม และสรุป

เอาไปใช้กันด้วยน้า ไปละ ง่วง บนเครื่องก็นอนนะ เเต่ง่วง ไปละๆ