Wednesday, February 25, 2015

常用表現 Part3

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ 

ครั้งนี้กลับมาอีกครั้งกับ常用表現ที่(น่าจะ)มีประโยชน์กับใครหลายๆคนในเวลานี้ วันนี้ขอนำเสนอ表現ที่ใช้ในการเขียน学習計画書หรือstydy planที่รักของทุกๆคนนั้นเองค้าาาา

มาเริ่มกันที่สำนวนแรก ~ことを明らかにするและ~明確にする(อ่านว่าめいかく)ใช้เวลาที่เราต้องการเกริ่นหัวข้อที่เราอยาก研究หรือพูดง่ายๆคือ ทำให้กระจ่างค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น 化粧品のイメージを表すキーワードを明らかにしたいと思う。

แปลในแบบของเราคือ อยากทราบว่าคำศัพท์ที่ปรากฎในสื่อโฆษณาเครื่องสำอางมีภาพลักษณ์อย่างไร


สำนวนต่อมา~的に重要な意義を持つと言える。
ยกตัวอย่างเช่น 先行研究は社会的に重要な意義を持つ。

แปลในแบบของเราคือ งานวิจัยที่อ้างถึงนี้มีความคุณค่าในเชิงสังคม

 

ว้าว ฟังดูเลอค่ามาก


และสำนวนสุดท้ายที่น่าสนใจมากๆคือ~したものは見当たらない。
ยกตัวอย่างเช่น 日本語とタイ語を対象に携帯メールのCSに関して研究したものは見当たらない

แปลว่า งานวิจัยเกี่ยวกับcode switchในการใช้ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นในการเขียนอีเมลทางโทรศัพท์เป็นงานวิจัยที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

สำหรับเอนทรี่นี้ mojimojeeก็ขอให้ทุกคนนำ表現ที่สุดแสนจะเลิศหรูดูดีเหล่านี้ไปใช้(แทนประโยคplainๆ)และขอให้เพื่อนๆโชคดีในการสอบทุนกันทุกคนเลยนะคะ


Tuesday, February 17, 2015

常用表現 Part2


สวัสดีค่ะเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน
เช่นเคย วันนี้จะมานำเสนอ表現ที่ใช้กันบ๊อยบ่อยในชีวิตประจำวัน แต่วันนี้จะพิเศษหน่อยตรงที่จะมาเป็นคู่ค่ะ ควันหลงวันวาเลนไทน์นิดหน่อย(ฮา) เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยค่ะ

คู่ที่1
รูปますตัดますเติมがたい VS รูป ます ตัดますเติมかねる
例: 彼女の気持ちは理解しがたい。
彼女の気持ちは理解しかねる。
เอ~มันต่างกันยังไงน้า ปวดหัวจริง
理解しがたい ในที่นี้มีความหมายว่า 理解するのは難しい
ในขณะที่理解しかねる มีความหมายอย่างที่รู้กันว่า 理解できない เห็นมั๊ยๆใลมันต่างกันน้า

คู่ที่ 2 
รูปますตัดますทิ้งแล้วเติม 終える VS 切る
例: 長編小説を読み終えた。
長編小説を読み切った。
読み終えた มีความหมายว่า全部読んでしまった。มีเซนต์ที่ว่า時間の経過とともにおしまいになる
ส่วน読み切った มีความหมายว่าอ่านจนถึง最後までやったและ残りがないนั้นเอง

คู่ที่ 3

他に VS 別に
例: 今日は他にすることがない。
今日は別にすることがない。
เหมือนจะเหมือนแต่จริงๆแล้วต่างตรงที่ 他にมีความหมายว่า 大事なこと/やるべきことが終わって何も残っていない。
แต่ 別に มีความหมายว่า 何もない/ 特に~ない/ 大事なことがない นั้นเอง

คู่ที่ 4
たところ VS たばかり
 
例: 日本に着いたところです。
日本に着いたばかりです。
สอง表現นี้สับสนกันไปมาเหมือนปัญหาโลกแตก เราเองยังเคยใช้ผิดเลย ลองมาดูความหมายกันดีกว่าค่ะ
たところในที่นี้มีความหมายว่า 着いて、あまり時間が過ぎていない(本当の時間)
ส่วนเจ้า たばかり ในที่นี้มีความหมายในเซนต์ของผู้พูดเองที่ว่า 話す人にとって、短い時間นั้นเอง

คู่ที่ 5
的 VS 風
 
 
 
例: 日本的な料理を作ろう。
日本風の料理を作ろう。
เอ แค่คันจิตัวเดียวนี่ต่างกันด้วยหรอ
ต่างค่ะ 
的สื่อความหมายถึง~の条件をかなり満たしている。ดังนั้น日本的な料理ในที่นี่จึงมีหมายถึง和食

ในขณะที่日本風の料理 มีความหมายว่า~ のように見えるが違うかもしれない/~っぽい ดังนั้น 日本風の料理 ในที่นี้จึงมีความหมายว่า 日本ぽい料理
 
 
 
ว้าวๆ ไม่ยากอย่างที่คิดเนอะ เอาละ เราลองมาทำแบบฝึกหัดกันดีกว่า
1. 日本語の宿題を( やり終えた/やり切った)後、英語の宿題をやるつもりだ。
2. 彼が言ったことを何回も考えても、全然(理解しがたい/理解しかねる)。
3. 家族のために、心を合わせて、作った晩ご飯を(できたところ/できたばかり)で、子供たちが学校から帰りました。
4. 学校の後、( 別に/ 他に)やりたいことをまだ、考えていない。
5. 京都のおみやげだったら、江戸(的/風) な/のおもちゃを買いたいです。

และเฉลยจะตามมาในคอมเม้นเช่นเคย ลองทำกันเยอะๆน้าาาา

Monday, February 9, 2015

常用表現 Part1

常用表現 Part1


เอาละ ในที่สุดก็ได้เข้าเรื่องจริงๆกันสักที
ตามที่เขียนใน目標ของบล็อกนี้ (หาดูได้จากข้างๆนี้ค่ะ→)
คือ เราจะมาเพิ่มพูน表現ที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันกัน สำนวนแรกของวันนี้ขอเสนอสำนวนที่เราไว้ใช้เรียกพนักงานให้มาคิดเงินโต๊ะเรา สำนวนนี้คือ
お勘定お願いします
คันจิ 勘定 อ่านว่า かんじょう

 
คุ้นๆกันมั๊ยเพื่อนๆ คำนี้เราเจอกันวันนี้ตอนที่อ่านเรื่องสั้นในคาบJap readไง
ตรง 勘定がたまって支払いに困り
ที่แปลว่า ยอดบิลที่สั่งสมทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินได้

ที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่เวลากินเสร็จเราจะลุกไปจ่ายเงินที่レジใช่ม้า แต่บางประเทศเช่นประเทศไทยนิยมเรียกพนักงานมาคิดเงินที่โต๊ะมากกว่า
ถ้าพนักงานบางคนอัธยาศัยดี เค้าจะถามเราว่า
料理は、お口に合いますか。
แปลตรงกับภาษาไทยเลยว่า อาหารรสชาติถูกปากมั๊ยค่ะ

สมัยทำร้านอาหารไทยแล้วมีลูกค้าญี่ปุ่นมาทานที่ร้านเราเคยใช้สำนวนนี้นะ นางก็ยิ้มมมมดีใจ เจอคนหน้าจีนๆอย่างเราที่พูดญี่ปุ่นได้(หนึ่งประโยค) ได้ทิปมาสามเหรียญ (ประมาน90บาทเเน่ะ) เพราะฉะนั้นถ้าใครมีโอกาสได้ไปทำバイトที่ญี่ปุ่นก็อย่าลืมลองเอาไปใช้กันดูนะคะ

ไปละ บายยย

Tuesday, February 3, 2015

อธิบาย研究ของตัวเองให้คนญี่ปุ่นฟัง ทำไมมันยากเย็นอย่างนี้นะ

เคยอธิบาย研究ของตัวเองให้คนญี่ปุ่นฟังมั๊ย?
การอธิบาย研究คือการพูดเรื่องยากๆของเราให้คนที่ไม่มีอะไรเชื่อมโยงกะความคิดเราเลยยยย เข้าใจให้ได้ ดังนั้นเราก็ควรที่จะพูดอะไร ที่ฟังง่ายเเละกระชับใช่มั๊ย
ก็น่าจะประมานนี้แหละนะ

และนี่ก็คือคำอธิบายเคงคิวที่โพสลงไปในLang 8
私は化粧品CMにおける言葉について研究しています。美しさに対して、
女性がどんな意識があるかを理解するように、
言葉の頻発を計算して、よく出る言葉を分析します。
その後、要点を確認するために、20ー30歳の女性を対象して、
アンケートを取ります。
 
 
เราว่ามันยาวไปนะ คนญี่ปุ่นเลยมาตอบแค่ 2คนเอง...เศร้า
 
เค้าเเก้ตรง Hi,皆さん ที่เราใส่ทักทายก่อนจะบอกเค้าให้ช่วยแก้ให้หน่อย
เค้าบอกว่าต้องพูดเป็น こんにちは。みなさん
 
จ่ะ
 
เราตอบกลับไปเป็นภาษาอังกฤษ เพราะอยากรีบขอบคุณ แต่ตอนนั้นพิมญี่ปุ่นไม่ได้
ตอบกลับไปว่า ขอบคุณนะที่แก้ให้ ฉันเพิ่งรู้นะว่าเราพูด 'Hi' เป็นคำทักทายในภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ 
ฉันนึกว่าพวกวัยรุ่นเค้าพูดกันซะอีก
 
นางคงเกลียดชั้น...
 
อีกคนนึงแก้ดีมาก
เค้าบอกว่า 
... 女性がどんな意識がある ให้แก้เป็นをもつ
เพราะภาษาไทยเราพูดว่า มีทัศนคติอย่างไง คำว่า'มี' เนี่ย คนไทยชอบใช้กับverd あるแบทจะ100%เลยนะ 
โดยมีลืมคิดไปว่าในภาาาญี่ปุ่นเราใช้verbもつที่แปลว่าถือ ก็ได้นะ แล้วก้

かを理解するように ให้เปลี่ยนจากするเป็นできる 
เออ ก็จริงนะ verbรูปสามารถ ตามด้วยようになるคือ ทำอะไรเพื่อให้กลายเป็นสามารถ
ปกติเราใช้ผิดบ่อยมาก
ถ้าใช้กริยารูปพจนานุกรม แล้วตามด้วยようになる เเปลว่า เปลี่ยนไปเป็นverbนั้นๆ เช่น ビールを飲むようになる。 
แปลว่า เริ่มดื่มเบียร์ (แบบก่อนหน้านี้ไม่เคยดื่ม แต่ตอนนี้ดื่มแล้ว)
แต่ถ้าใช้verb รูปสามารถ แล้วตามด้วยようになる ความหมายจะแตกต่างออกไป
เช่น 20歳になたっら、ビールを飲めるようになる。 
แปลว่า พออายุ20 จะสามารถดื่มเบียร์ได้
คือก่อนหน้านี้ดื่มไม่ได้ไง เพราะผิดกฏหมาย อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ แต่ถ้าอายุ20เมื่อไหร่ ก็จะสามารถดื่มได้ ไม่ผิดกฏหมาย

สงสัยนิดนึงคือควรจะใช้ を飲める หรือが飲めるดี

อีกนิดนึงแก้ตรงคำศัพท์ 言葉の頻発 ใช้คำว่า 頻発 ไม่ค่อยดี ใช้ 頻度 ที่แปลว่าความถี่ จะดีกว่า

สิ่งที่คิดว่าตัวเองควรปรับปรุงก็คือ
1.อย่าแปลภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่น คำว่า มี ไม่จำเป็นต้องเป็นがあるอยู่เสมอ ต้องขยายขอบความคิดออกไปบ้าง
2.ลองใช้เว็บที่อาจารย์กนกวรรณแนะนำให้เป็นประโยชน์ ดูความถี่ว่าcollocation แบบไหนนิยมใช้มากที่สุด
3.ต้องกลับไปทวนไวยากรณ์ชั้นต้น เพราะแม้จะเป็นจุดเล็กๆในระดับN4 เราก็ควรให้ความสำคัญ อย่าปล่อยผ่านไป
4.เลิกใช้ดิกอังกฤษญี่ปุ่นได้เเล้ว คำศัพท์ที่ได้มาไม่เคยนำพาเลยสักครั้ง ต้องบังคับตัวเองให้ใช้国語辞典ให้ได้
 
รวมๆก็เท่านี้เเหละ
 
ขอบคุณคุณ Taka และคุณAkifumi เป็นอย่างมากในโอกาศนี้ด้วยนะคะ มีโอกาศหนูจะเข้าไปช่วยเเก้ภาษาของคุณมั่งคะ ว่าแต่...จะมีวันนั้นมัียน้าาา