Tuesday, February 17, 2015

常用表現 Part2


สวัสดีค่ะเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน
เช่นเคย วันนี้จะมานำเสนอ表現ที่ใช้กันบ๊อยบ่อยในชีวิตประจำวัน แต่วันนี้จะพิเศษหน่อยตรงที่จะมาเป็นคู่ค่ะ ควันหลงวันวาเลนไทน์นิดหน่อย(ฮา) เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยค่ะ

คู่ที่1
รูปますตัดますเติมがたい VS รูป ます ตัดますเติมかねる
例: 彼女の気持ちは理解しがたい。
彼女の気持ちは理解しかねる。
เอ~มันต่างกันยังไงน้า ปวดหัวจริง
理解しがたい ในที่นี้มีความหมายว่า 理解するのは難しい
ในขณะที่理解しかねる มีความหมายอย่างที่รู้กันว่า 理解できない เห็นมั๊ยๆใลมันต่างกันน้า

คู่ที่ 2 
รูปますตัดますทิ้งแล้วเติม 終える VS 切る
例: 長編小説を読み終えた。
長編小説を読み切った。
読み終えた มีความหมายว่า全部読んでしまった。มีเซนต์ที่ว่า時間の経過とともにおしまいになる
ส่วน読み切った มีความหมายว่าอ่านจนถึง最後までやったและ残りがないนั้นเอง

คู่ที่ 3

他に VS 別に
例: 今日は他にすることがない。
今日は別にすることがない。
เหมือนจะเหมือนแต่จริงๆแล้วต่างตรงที่ 他にมีความหมายว่า 大事なこと/やるべきことが終わって何も残っていない。
แต่ 別に มีความหมายว่า 何もない/ 特に~ない/ 大事なことがない นั้นเอง

คู่ที่ 4
たところ VS たばかり
 
例: 日本に着いたところです。
日本に着いたばかりです。
สอง表現นี้สับสนกันไปมาเหมือนปัญหาโลกแตก เราเองยังเคยใช้ผิดเลย ลองมาดูความหมายกันดีกว่าค่ะ
たところในที่นี้มีความหมายว่า 着いて、あまり時間が過ぎていない(本当の時間)
ส่วนเจ้า たばかり ในที่นี้มีความหมายในเซนต์ของผู้พูดเองที่ว่า 話す人にとって、短い時間นั้นเอง

คู่ที่ 5
的 VS 風
 
 
 
例: 日本的な料理を作ろう。
日本風の料理を作ろう。
เอ แค่คันจิตัวเดียวนี่ต่างกันด้วยหรอ
ต่างค่ะ 
的สื่อความหมายถึง~の条件をかなり満たしている。ดังนั้น日本的な料理ในที่นี่จึงมีหมายถึง和食

ในขณะที่日本風の料理 มีความหมายว่า~ のように見えるが違うかもしれない/~っぽい ดังนั้น 日本風の料理 ในที่นี้จึงมีความหมายว่า 日本ぽい料理
 
 
 
ว้าวๆ ไม่ยากอย่างที่คิดเนอะ เอาละ เราลองมาทำแบบฝึกหัดกันดีกว่า
1. 日本語の宿題を( やり終えた/やり切った)後、英語の宿題をやるつもりだ。
2. 彼が言ったことを何回も考えても、全然(理解しがたい/理解しかねる)。
3. 家族のために、心を合わせて、作った晩ご飯を(できたところ/できたばかり)で、子供たちが学校から帰りました。
4. 学校の後、( 別に/ 他に)やりたいことをまだ、考えていない。
5. 京都のおみやげだったら、江戸(的/風) な/のおもちゃを買いたいです。

และเฉลยจะตามมาในคอมเม้นเช่นเคย ลองทำกันเยอะๆน้าาาา

2 comments:

  1. น่าสนใจมากๆเลยโมจิจัง มีการยกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจมาจุดประเด็นไขข้อสงสัยนะคะ :)
    สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อ 記事 วันนี้มีดังนี้ค่ะ
    1) ~かねる รู้สึกว่าสับสนมาตลอดเลย เพราะคือปกติ อะไรที่ลงท้ายด้วยกริยาるๆ จะเป็นประโยคบอกเล่า ขณะที่ ~ない จะเป็นประโยคปฏิเสธใช่มั๊ยล่ะ แต่พอเรียนภาษาญี่ปุ่นแบบสุภาพมากๆ (ถ้าจำไม่ผิด เจอในคาบภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจมั้ง) และเจอประโยค わかりかねます เข้าไปนี่ถึงกับงงเลย แล้วยิ่ง ~かねない/~かねません ที่มีความหมายเชิงบอกเล่ายิ่งสับสนเลย

    2) เรื่อง 的 กับ 風 นี่ได้ความรู้ใหม่เลย ปกติก็ใช้ไปตามความเคยชิน แต่ไม่เคยหันมามองว่าจริงๆแล้วมันแตกต่างจริงๆที่จุดไหน วันนี้ได้รู้แล้ว ขอบคุณที่นำมาแชร์ให้ทราบนะคะ :)
    ปล. พอพูดถึง 的 กับ 風 แล้ว พลอยทำให้นึกถึงคำว่า ~式 ไปด้วยเลย

    ReplyDelete
  2. はじめまして。
    混乱しそうな表現をいくつも並べましたねー大変だったでしょう。

    練習問題をやってみたんですが、うーんと悩んでしまいました。
    2.「全然」はたしかに否定形とだけじゃなくて、否定の意味、たとえば「全然違う/全然ダメ」のように使えますが、「全然理解しがたい」も「全然理解しかねる」も目にしたとき、うーん、、使うのかなあと。
    なかなか/甚だ/とても/まったく+理解しがたい
    いまひとつ/正直なところ+理解しかねる
    これならよく使われているようです。
    3. 作った晩ご飯”が”___ですね?
    4.「学校の後」って、「卒業したら」っていう意味ですか?
    5. 京都は西、江戸は東、、、関係あるのかなー?と思ってしまいました。

    では、これからもがんばってください!

    ReplyDelete