Monday, May 11, 2015

常用表現 Part10 - Final episode

บทประเมินตัวเอง 10 ข้อ จากการทำบล็อกในหนึ่งภาคการศึกษา

1. รู้จักสังเกตบทแกรมม่าที่อยู่ท้ายประโยคมากขึ้น ทั้งที่เมื่อก่อนเป็นคนไม่ชอบไวยากรณ์เลยเอามาใช้ถูกๆผิดๆ แต่พอสังเกตว่าคนญี่ปุ่นเค้าพูดกันยังไง เราก็จะเริ่มตั้งคำถามว่าประอะไรประโยคถึงออกมาเป็นเช่นนี้ เเละรุ็สึกสนุกมากที่ได้หาคำตอบ

2. บล็อกนี้ยังไม่ใช้วิธี I+1 ได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจาก เนื้อหาบางส่วนในบางตอนง่ายเกินไป บางเรื่องอาจซ้ำกับที่เคยเรียนเมื่อนานเเล้ว จึงไม่เป็นที่สนใจ คนคอมเน้นน้อย

3. บางครั้งข้าพเจ้าก็รู้สึกว่าบล็อกคือ ภาระ ถ้าไม่ต้องทำทุกอาทิตย์คงไปทำอย่างอื่นได้ แต่การที่มันจะกดดันให้เราอัพทุกอาทิตย์นี่ละ คือตัวผลักให้เรามีความกระตือรือร้นได้เป็นอย่างดี

4.テーマที่เลือกไว้ จริงๆคือ常用表現 แต่บางเอนทรี่ก็ให้ความสำคัญกับ文法เเละ文末表現ไปซะงั้น

5.อาจารย์ยุพวรรณกับอาจารย์นัตสึกิชมว่า พูดได้คล่องขึ้น (>__<)ปลื้ม

6.เนื่องจาก目的คือต้องการพ๊ฒนา会話能力แต่การจะoutputได้นั้นต้องอาศัยเจ้าของภาษามาเป็นคู่สนทนาหรือสภาพเเวดล้อมที่เอื้ออำอวยให้ฝึกทักษะการสนทนาด้วย แต่ขณะนี้ สิ่งเหล่านี้ขาดหายไป จึงoutputได้ยากในนอกห้องเรียน

7.ได้ลองใช้รูปแบบประโยคที่ซับซ้อนเเละมีชั้นเชิงกว่าแต่ก่อนครั้งเเรก แล้วพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด

8.ได้รู้จักเพื่อนในเอกกันมากขึ้น ผ่านตัวตนของเขาในบล็อก

9.เป็นครั้งเเรกที่ได้ทำแบบฝึกหัดขึ้นมาเอง แต่งประโยคตัวอย่างเอง

10.ต่อไปนี้ไม่มีบล็อกแล้ว ทั้งโล่งใจทั้งคิดถึง จะเก็บเอาความรู้ที่ได้สั่งสมมาหนึ่งเทอมนี้เอาไปต่อยอดเรื่อยๆๆๆๆไป ต้องทำให้ได้เลย!!

常用表現 Part9

เดินทางมาถึงวันสุดท้ายกันเเล้วนะคะทุกๆคน กับPart9 ของ常用表現(>_<)

เอนทรี่นี้เป็นคล้ายเอนทรี่สั่งลาก่อนจะ内省ตัวเองในพาร์ตที่10 เเละบล็อกของเราก็จะปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยค่ะ

วันก่อนเราไปเจอประโยคน่าสนใจประโยคหนึ่งในหนังสือเรียนJap Con เพื่อนๆบางคนอาจจะเคยเห็นเเล้ว

ประโยคนั้นก็คือ  
電車やバスでお年寄りや赤ちゃんを抱いた人席をゆずってあげる

แปลว่า ลุกให้คนแก่หรือเด็กนั่งบนรถไฟหรือรถเมล์


อย่าพูดว่า立ってあげる เชียวนะ 
คราวหน้าถ้าจะพูดว่าลุกให้ใคร ใช้คำช่วย に แล้วตามด้วย ゆずってあげる แทนกันนะคะ

ต่อมา ได้เเรงบันดาลใจจากตอนหนึ่งในหนังสือJap Con ตอนストーリーを話す
การูตูนช่องเด็กผู้ชายเเกล้งอำเด็กผู้หญิง แต่เราไม่รู้จะอธิบายว่าอย่างไร ใช่มั๊ยค่ะ

คำตอบคือ男の子は女の子にからかうチャンスだと思いました。
คำว่า からかう แปลว่า แกล้ง หยอกล้อ มีคม.เชิงバカにする



ต่างกับ いじめる กับ ひどくするนะคะ


และสุดท้าย inspiredจากストーリーを話すเช่นกัน นั่นคือ ตอนที่รถไฟโคลงเคล้ง คุณผู้หญิงคนหนึ่งจึงสูญเสียการทรงตัวเเละล้มลง



バランスをくずして、後ろに転びました。

バランスをくずして >>>แปลว่า เสียการทรงตัว นั้นเองค้าาาาาา






Wednesday, May 6, 2015

常用表現 Part 8

สวัสดีค้า mojimojee กลับมาแล้วค่ะ

วันนี้เราจะมาพูดกันเรื่องあいづちหรือ คำตอบรับคู่สนทนาที่เราคุ้นเคยดีนั้นเองค่ะ

ถ้าพูดถึงあいづち เเน่นอนว่าทุกคนคงคิดถึง うん。そうですか。そうですね。いいですね。そうそう。
ประมานนี้เป็นต้น

ใช่มั๊ยคะ ยอมรับมาเถอะ อิอิอิอิ

น้อยจังเลยอ่า เรามาเพิ่มพูนคลังあいづちในหัวของเรากันดีกว่าค่ะ

1.がっかりだね。 แปลว่า น่าผิดหวังจังเลย หรือ น่าเสียดายจังเลยก็ได้ค่ะ (แต่ถ้าอยากพูดว่าน่าเสียดาย ใช้残念ですねไปเลยน่าจะดีกว่านะคะ)

2.大変そうだね 。ใช้เเสดงความเห็นอกเห็นใจคู่สนทนาได้ดีกว่า仕方がないですね。อีกนะคะ(ความเห็นส่วนตัวนะ)

3.いいなあ、うらやましいな。 คำว่าうらやましいที่แปลว่าอิจฉา ไม่ได้มีความหมายว่าอิจฉาริษยาเสมอไปนะคะ ในที่นี้สามารถสื่อความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมกับเรื่องของผู้สนทนาด้วยก็ได้ค่ะ

4.しまった!              
  あちゃー!          
  うそでしょー。        
  信じられない! 
ทั้งหมดนี้คือเซตแสดงความตกใจ แบบ ไม่น่าเชื่อแล้ว ว้า พลาดแล้วอะแก อะไรประมานนี้อะคะ 55555

5.私を信用して! แปลว่า ไว้ใจชั้นเถอะ แบบ งานนี้น่ะ เชื่อใจฉันได้เลย (mojimojeeไม่เเน่ใจว่านี่เป็นあいづちได้รึเปล่านะคะ)


ทีนี้เพื่อนจะใช้あいづちในครั้งหน้าก็อย่าใช้กันเเต่ そうですね。หรือ そうですか。กันอย่างเดียวนะคะ ใช้คำอื่นๆในเอนทรี่นี้ด้วยน้าาาา 


เอาล่ะ เอนทรี่นี้ขอสั้นๆแค่นี้ก่อนนะคะ

แล้วเจอกันอีกครั้งก่อนวัน締め切りค้า บายยยยย

ขอบคุณที่มาจากhttp://www.geocities.jp/kusumotokeiji/eigo15.htm 
 

Tuesday, April 21, 2015

常用表現 Part7 - アイスを注文しましょう

ร้อนนนนนนนนนนนนนน
อะไรมันจะร้อนขนาดนี้ ไม่ไหวเเล้วนะ ร้อนๆอย่างนี้ ต้องกินไอติม ไอติมเท่านั้น

เพราะฉะนั้นวันนี้ mojimojee ขอนำเสนอ常用表現ที่รับรองว่าได้เอาไปใช้แน่ๆ 
นั้นก็คือ アイスクリームの注文表現นั้นเองค้าาาาา

ถ้าใครเรียนhop step jumpเล่มสีน้ำเงินตอนปีหนึ่งเซคอาจารย์อรรถยา คงจำกันได้ว่าอาจารย์สอนเรื่อง วิธีสั่งไอติมเป็นภาษาญี่ปุ่น

อาจารย์บอกว่า เราต้องบอก サイズของบรรจุภัณฑ์ไอศกรีมก่อนค่ะ
ไซส์ของบรรจุภัณฑ์ไอศกรีมที่ว่านั้นได้แก่ キッズ・レギュラー・キング・スモールダブル・レギュラーダブル などです^^



ต่อมาเราต้องบอก 入れ物 ค่ะ
อันได้แก่ コーン・カップ・ワッフルコーン・パン などです^^





และปิดท้ายด้วยรสชาติไอศกรีมที่เราเลือก เป็นอันเรียบร้อย




ดังนั้น เพราะโยคที่ออกมาจะเป็นประมานนี้ค่ะ
スモールカップのダブルで、キャラメルリボンとチョコミントお願いします。

หรือレギュラーのワッフルコーンで、ロッキーロードお願いします。

เพื่อนๆลองเอาไปใช้กันดูนะคะ สำหรับวันนี้ mojimojee ขอตัวไปเปิดตู้เย็นกินไอศกรีมก่อนละค้า ร้อนมากเลย ไปละ บายยยยย

Wednesday, April 8, 2015

常用表現 Part6 - アルバイト102

ไฮ่!! กลับมาอีกครั้งหลังจากหายไปเนิ่นนาน ครั้งนี้mojimojeeยังคงคอนเซปアルバト警護กันอยู่อย่างเหนียวเเน่นค่า
 เริ่มกันเล้ย
รู้มั๊ยว่า การพูด いらっしゃいませแล้วต่อด้วยこんにちはนั้น มัน ผิด!!!!
เพราะทั้งいらっしゃいませกับこんにちはนั้นเป็นคำあいさつด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้น เวลาจะพูด ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งนะจ๊ะ
ต่อมา
เวลาลูกค้าจองโต๊ะไว้ เเล้วเราต้องการจะเช๊คชื่อลูกค้า ถ้าพูดว่า 「○○様でございますね」นั้น ผิด!!!นะคะ ที่พูดผิดเพราะเราชินกับですね และรูปสุภาพของですคือ でごさいます
แต่ทุกคนค่ะ สิ่งหนึงที่เราต้องคำนึงไว้เสมอนั้นคือ เราไม่สามารถนำความเคยชินมาใช้ในけいごได้นะ
ต้องพูดว่า「○○様でいらっしゃいますね」ถึงจะ完璧นะคะ

สุดท้ายสำหรับวันนี้
表現ทีคนญี่ปุ่นพูดผิดกันจนมันจะถูกแล้วค่ะ นั้นคือ 「○○でよろしかったでしょうか」
ที่ถูกคือ  「○○でよろしいですか」หรือ「○○でよろしゅうございますか」
อันสุดท้ายอาจจะฟังดูแปลกสักหน่อยแต่คนเค้าพูดกันจริงๆนะคะ ไปสืบมาแล้ว เชื่อเราเถอะ


Monday, March 30, 2015

I can change project - New me

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ และพี่ๆTA ที่น่ารักทุกคน 
ต่อไปนี่คือ บทถอดเสียง外国人のStory telling ครั้งที่3 ของmojimojeeเองค่ะ

เชิญรับชมได้เลยค้าาาา

- ねえ、ねえ、オムさん。昨日私はホテルでバイトをやりました。(はあ、どうだ?)
わっ、疲れた。でも、面白うことがあったよ。(なになに?)
ホテルのロビーで、あのう、ソファーがあるよね。はい、で、その大きいソファーに男が二人座っています。(うんうん)
はいあのう。。。一人はちょっとおじいさんみたいだけど、あのう。。。
(もう一人は?)
もう一人はサラリーマンみたいな男の人。はい。そのおじいさんみたいな男の人は新聞を読んでいる。
、サラリーマンみたいな男の人は友達を待っているそうに見回していました。そして、なんか、外国人がその現場に入りました。(現場?何があった)
いいえいいえ。そのロビーで入っていました。
はいはい。
あのうそして、その外国人がその、あのう外国人が迷っていろそうだけど、でも、誰に聞いてわからなくて、地図を持っていました。
そのサラリーマンは何もしないよね。(うん)
だから、外国人がサラリーマンにきっ きっ きっ聞こうとしていました。でも、そのサラリーマンは外国人の目が合って、サラリーマンがちょっとびっくりしました。
英語が話せないから、外国人と話したくないそうで、となりのおじいさんに
となりのおじいさんの新聞、持っている新聞の後ろに隠れていました。(うんん)
はい。
その外国人はそれを見ると腹が立ってるような顔をしました。
(はあああ)
そうそう、ひどいね。(そうねそうね)

เขินอะ555

ต่อไปนี้คือ 内省 ที่มีต่อStory tellingครั้งที่3
1. ครั้งนี้รู้จักการเกริ่นนำ ด้วยการเรียกชื่อเพื่อนให้มาฟังเรื่องที่เราจะพูดโดยใช้ ねえ、ねえ、オムさん。昨日私は。。。
2. ครั้งนี้ใช้รูปplain formปนกับรูปます ですซึ่งแย่มาก เพราะคิดว่าปัญหาการใช้รูปสุภาพกับรูปธรรมดาปนกันน่าจะได้รับการแก้ไขตั้งแต่สมัยเรียนกับอาจารย์มาเอดะตอนปีหนึ่งแล้ว ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมยังกลับมาเป็นอีก ทำไมๆๆ
3. ใช้คำช่วยท้ายประโยค よね สิ้นเปลืองมาก เหมือนข้าพเจ้ากำลังเทียบคำว่าよね กับภาษาไทยคำว่า ใช่มั๊ย ถ้าลองเปลี่ยนよねเป็นでしょうอาจทำให้ฟังดูธรรมชาติมากขึ้น
4. ครั้งนี้พูด あのうเยอะมาก นับได้เกือบสิบครั้ง
5. รู้สึกไม่ชินเวลาเพื่อนあいづちมา ทำให้มักพูด はいเพื่อตอบรับแทบทุกครั้ง
6. คำว่า現場แปลว่าสถานที่เกิดเหตุ มักจะใช้กับคดีหรือเหตุการณ์ซีเรียสหน่อยๆ ในที่นี้ใช้ผิด ถ้าจะพูดถึงล๊อบบี้โรงแรม น่าจะใช้คำว่า場所 หรือところน่าจะเหมาะกว่า
7. ใช้คำว่าでも โดยที่ทั้งสองประโยคหน้าหลังไม่ได้ขัดแย้งกันบ่อยมาก เหมือนเราใช้でもแทนคำเชื่อมเหตุการณ์ จุดๆนี้ข้าพเจ้าจะพยายามปรับปรุงและสอนตัวเองให้มากๆ
8. ตามที่อาจารย์สอนท้ายคาบว่า คำว่าそして ไม่ใช่ในภาษาพูด ใช้บอกผลลัพท์ และมักอยู่ตำแหน่งสุดท้ายของประโยค นะจ๊ะ
9. ไวยากรณ์ていましたเป็นส่วนท้ายประโยคที่ใช้ติดมาก จากการสังเกตงานเขียนที่ผ่านมาในวิชาอื่นด้วยเเล้ว พบว่าตนเองใช้ていましたเยอะมาก จนไม่เข้าใจว่าความหมายจริงๆใช้ได้รึเปล่า เราควรเร่งศึกษาละ ไม่งั้นฟอสซิลกินสมองแน่

สู้โว้ย

Saturday, March 28, 2015

I can change, even if I try

I can change, even if I try:)
Story telling เรื่อง外国人ถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น ครั้งแรก(ตื่นเต้นมาก)

はい、始まります。現場はホテルのフロントです。
 あっ、ホテルのロビーです。  
サラリーマンみたいな男の人がソファに座っています。
その人は友達に待ってるかもしれませんね。そのサラリーマンのとなりにあるお おっ おじいさんが新聞を読んでいます。 はい、2人がいます。同じソファに座っています。  
そして、そのサラリーマンはふじ ああ なんか地図を持っている外国人を見ました。
その外国人がなんか迷っているみたいですけど、なんか、持っている地図を 道を分からない道を分からない。。。 だから、その外国人がサラリーマンを道を聞こうとするとしています。
 でも、そのサラリーマンは え 英語が全然できないから、外国人と話したくない。  
だから、その あのう そのサラリーマンはおじいさんの新聞の後ろに隠します。 
 そのソファの後ろじゃない。
おじいさんが持っている新聞の後ろに隠します。  
で、そのおじいさんは「ええ、なんでこの子は。。。」って感じて。。。 はい、そうそう。  
その外国人は怒ってみたい。なんか、道を聞きたいだけで、なんで、私と話したくないのという顔をします。 
 ということです。 

เจ็บใจจังเลย ครั้งแรกนี่ทั้งตื่นเต้นทั้งลนลาน เรื่องที่อยากพูดก็พูดไม่ได้ 
เช่น 
1.หันไปสบตากับชาวต่างชาติ พูดว่าไงอะ
2.เขยิบเข้าไปหาคุณลุงคนข้างๆแล้วหลบหนังหนังสือพิมที่ลุงถืออยู่What!!?????
3.ใช้そしてเชื่อมเเทบจะทุกตอนเลย 
4.tenceมั่วมาก

...ขอสรุปด้วยแฮชเเท๊ก #ร้องไห้หนักมาก 

หลังจากอ่าน15บทความโดยคนญี่ปุ่นแล้ว นี่คือสิ่งที่ได้ มาค่ะ

   ホテルのロビーに、おじさんと若い男の人がソファーで座っている。若い男の人があたりを見回していると、ふと、地図を持っている外国人と目が合ってしまった。その外国人はどこがに行きたかったらしい。
突然、その外国人が道を聞きたいため、愛想笑いをしながら若い男に近づく。しかし、若い男の人が英語が全然できなく、外国人と話したくない。
そこで、困った男の人は隣で新聞を読んでいるおじさんの近くに座り新聞に隠れ、新聞を読んでいるふりをする。それを見ると、外国人は腹が立っていた、というお話です。 

สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ
 1. รู้จักการใช้ふとมาขยายความ ทำให้เนื้อเรื่องสื่อความหมายมากขึ้น จากที่แต่เดิมพูดได้เเค่ ああ なんか地図を持っている外国人を見ました。  
2.ก่อนหน้านี้คิดว่า สบสายตากันจะต้องใช้รูป他動詞คือ目を合わせるซึ่งจริงๆแล้วผิด ต้องเป็น自動詞คือ目が合うต่างหาก  
3.ได้ลองใช้表現ใหม่ๆเช่น 読んでいるふりとする。 自分に近づいてくる外国人 และ 地図を広げてあたりを見回している  
4.ก่อนหน้านี้ใช้คำว่า だから、でも、そして、でในการเชื่อมความเยอะมากจนเฟ้อ พอเปลี่ยนได้เเล้วก็พบว่ายังมีคำอื่นอีกตั้งหลายคำที่้ได้ เช่น突然、しかしและ それを見ると

ขอบคุณอาจารย์และพี่ๆTAทุกคนที่อ่านจนจบนะคะ เลิฟๆ<3

常用表現 Part5 - バイト敬語101

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้mojimojee กลับมาอีกครั้งพร้อมกับ常用表現ที่น่าสนใจฟุด และมั่นใจว่าเพื่อนๆต้องได้เอาไปใช้แน่ๆ


สิ่งนั้นคือ バイト敬語 หรือ ภาษาสุภาพที่ใช้เวลาทำงานพิเศษนั้นเองค้าาา


ในเอนทรี่นี้เราจะพูดถึงバイト敬語ที่บางครั้งคนญี่ปุ่นก็ใช้ผิดกันค่ะ

เริ่มที่อันเเรก 
「コーヒーと紅茶どちらにいたしますか」
ประโยคนี้ผิดตรง にいたしますか เพราะ いたす เป็น 謙譲語(けんじょうご)ใช้ในที่นี้จะประหลาด เวลาพูดกับลูกค้าควรใช้尊敬語(そんけいご)จะดีกว่า ซึ่งในที่นี้尊敬語ของする ก็คือ なさる
ที่ถูกต้องคือ「コーヒーと紅茶どちらになさいますか」

ต่อมา
「定休日のためお休みさせていただきます」
ประโยคนี้ไม่ได้ผิดแกรมม่า แต่ させていただきます มีอิมเมจที่強いเกินไป ประมานว่า "ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฉันก็จะหยุด" ดังนั้น เราควรใช้
「定休日のためお休みいたします」

เรื่อยไปกับ
「50円とレシートのお返しです。」
เคยได้ยินบ่อยๆเวลารับเงินทอนกับใบเสร็จใช่มั๊ยคะ แต่50円とレシートมันผิดนะ เพราะ ใบเสร็จเป็นอะไรที่พนักงานต้องให้เราอยู่เเล้ว มันไม่ใช่ของที่เป็นお返し
ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ「50円のお返しと、レシートでございます。」



สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดของวันนี้
「お会計は1200円になります。」เคยได้ยินบ่อยๆ แต่มันผิดนะคะ
ที่ถูกคือ「お会計は1200円でございます。」
เพราะ NounはNounです。จะใช้になるไม่ได้ ต้องใช้です และรูปสุภาพของです คือ でございます

สนุกเนอะ เรื่องバイト敬語เนี่ยยังมีอีกเยอะ ต้องมีภาคสองต่อแน่ๆ ยังไงทุกคนช่วยติดตามด้วยนะคร้าาาา mojimojeeไปละ จุ๊บ

Monday, March 16, 2015

常用表現 Part4

ช่วงนี้ครึกครื้น อัพบล็อกติดกันสองวันเบยยย อิอิอิอิ

วันก่อนค่ะ mojimojeeสอนพิเศษเด็กน้อยคนนึง 
วันนั้นน้องเอาあきこと友達เล่มสี่สีเขียวมาให้สอนค่ะ เป็นเรื่อง'อนุประโยคขยายคำนาม' ตอนที่พี่โมจิเห็นพี่โมจิก็กระพริบตาปริบๆแหละค่ะ
มันคือเรื่องไรว้า5555555

ทุกคนคิดออกมั๊ยคะว่ามันคือเรื่องอะไร 
มันคือ複文ค่ะ หรือ-文の中に別の文が入り込んでいること-ค่ะ
เช่น 私は子供が熱を出した時は仕事を休む。ประโยคนี้ 主の文คือ 私は仕事を休む。
ประโยคที่เป็น文の中คือ 子供が熱を出した
พูดอย่างงี้ทุกคนพอจะนึกภาพออกแล้วนะคะ

แต่มันไม่จบแค่นี้น่ะสิคะ เมื่อน้องถามว่า แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าประโยคขยายต้องผันเป็นรูปอดีตหรือปัจจุบัน

นั้นสิ...เราจะรู้ได้ไง 
นี่คือปัญหาของ自制 ค่ะ‼︎

เช่น 商品を間違って買った場合、店に返品することができる。
ความหมายคือ เราต้อง間違って買ったก่อน แล้วจึง返品できる
อีกอันนึง 来月イキリスへ行ったとき、イキリスにいるおばさんを訪ねる予定だ。
ความหมายคือ เราต้อง行ったก่อน แล้วその後で おばさんを訪ねる 
ลักษณะอย่างงี้คือเราเน้น ประโยคย่อยที่กำลังทำหน้าที่ขยาย มากกว่าประโยคหลักค่ะ

ในขณะที่ 
子供の頃、寝るとき日本にいつも母が本を読んでくれた。
มีความหมายว่า 読んでくれた → その後で、寝る。
เช่นเดียวกับ タイへ出発する際、羽田空港で写真を撮った。
มีความหมายว่า 撮った → その後で、出発
ลักษณะอย่างนี้คือเราเน้นประโยคหลัก มากกว่าประโยคย่อยนะคะ

แต่ถ้าเราต้องการจะให้ความสำคัญเท่าๆกัน ทั้งประโยคหลักและประโยคย่อยเราจะใช้รูป現在形 หรือในบางกรณีก็ใช้รูปเดียวกะใจความหลักค่ะ
เช่น 暑い日に外で仕事をする人は、たくさん汗がかく。
มีความหมายว่า 仕事をする同時に汗をかく。

เรื่องนี้ละเอียดมากๆเลยนะคะ บางทีเราใช้ตามเซนต์ของเราโดยที่มันไม่ผิดหรอกค่ะ แต่ความหมายอาจจะสื่อผิดไปจากที่เราตั้งใจ ถ้าเพื่อนๆลองสำรวจลักษณะการใช้ของตัวเองสักนิด ภาษาญี่ปุ่นของเราก็จะฟังง่ายขึ้น คุยกะคนญี่ปุ่นเค้าจะได้ไม่ต้องขมวดคิ้วใส่เรามากนักนะคะ

คราวหน้าจะเอาเรื่องสนุกๆมาฝากกันมั่งละ เพราะอันนี้นี่แกรมม่าล้วน อ่านแล้วมึนเนอะ5555
แล้วเจอกันใหม่ค้า



Sunday, March 15, 2015

Special ep. 常用表現 - 決まった文末をとる表現

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆที่น่ารักทุกคน mojimojeeกลับมาแล้วค่ะ
หลังจากที่ห่างหายไปนานมากๆๆๆ ครั้งนี้mojimojeeกลับมากับการอัพบล็อกผ่านapp bloggerที่เพิ่งโหลดมาลองสดๆร้อนๆจากapp storeตะกี้นี้เองค้า

ดังนั้น นี่จึงเป็นspecial episodeของ常用表現ในสัปดาห์นี้กันค้าาา  (อะไรคือความเชื่อมโยง??)

เริ่มเลย
การใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ดี ต้องสัมพันธ์กันทั้งหัวท้าย พูดอีกอย่างคือ ต้นประโยคเริ่มมายังไง ท้ายประโยคก็ต้องจบให้กลืนกัน ไม่อย่างงั้นจะฟังดูประหลาด แถมยังไม่สื่อความหมายอีกนะคะเพื่อนๆ

เรามาดู文末をとる表現แบบเเรกกันเลยดีกว่าคะ
ถ้าประโยคขึ้นด้วย なぜなら・というのは・なぜかというとต้องจบประโยคด้วย〜から(ため)である。เท่านั้น
ยกตัวอย่าง 私は結局国へ帰らないで、日本に残ることにした。というのは、日本の精神風土が私に合っていると思われたからである
แปลว่า สุดท้ายฉันก็ตัดสินใจไม่กลับประเทศและใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อ เหตุเพราะฉันคิดว่าอากาศของที่นี่เหมาะกับฉันอย่างไรละ
ง่ายมากเลย ประโยคข้างต้นเป็นประโยคเล่าเรื่องราวเเล้วบอกเหตุผล อ.ที่เคารพทุกท่านก็ย้ำบ๊อยบ่อย เรียนมาขนาดนี้เเล้ว เรื่องเเค่นี้เราคงไม่พลาดกันเเล้วเนอะ

ต่อมาจ้า
ถ้าเราเห็นคำวิเศษณ์ที่สุดแสนจะน่ารักเหล่านี้
全く
たいして
めったに
少しも
決して
なにも
และ必ずしも ที่ไหนละก็ ประโยคที่ตามมา100%ต้องเป็นประโยค否定(ひてい)หรือประโยคปฏิเสธนั้นเองจ้า
ยกตัวอย่าง こんなきれいな景色はめったに 見られない
แปลว่า ไม่เคยเห็นวิวที่สวยงดงามขนาดนี้มาก่อนเลย
อีกตัวอย่าง 値段が高いものが必ずしもいいとは限らない
แปลว่า ของราคาแพงไม่ได้หมายความว่าต้องดีเสมอไป
คำอธิบาย : เนื่องจากคำวิเศษณ์เหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นปฏิเสธอยู่เเล้ว ท้ายประโยคจึงต้องเป็นปฏิเสธด้วยนั้นเองค่ะ

เรื่องสุดท้ายเเต่ไม่ท้ายสุดของวันนี้ คือ ประโยคเเสดง変化หรือความเปลี่ยนแปลง จะมีคำวิเศษณ์ที่เราคุ้นกัน เช่น
一段と
ますます
次第に
徐々に
จะต้องลงท้ายด้วยประโยคแสดงความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น 
ยกตัวอย่าง 今後、経済は次第に 回復していくだろう。
แปลว่า ระยะหลังมานี้ เศรษฐกิจอาจกำลังฟื้นตัวอยู่
และ 最近、上田さんは一段と大人っぽくなった
แปลว่า พักหลังนี้ดูคุณอุเอดะจะดูเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมากนะ

ตามนี้ค่ะ
โอกาสนี้ Mojimojeeขอบคุณทุกคนที่เข้ามาคอมเม้นตั้งแต่เเรกเริ่มทำบล๊อกมา ณ ที่นี่ด้วยนะคะ
แต่ขอบคุณอย่างเดียวไม่พอ เอนทรี่นี้ mojimojeeขอความร่วมมือทุกท่าน คอมเม้น เป็นประโยคภาษาญี่ปุ่นที่ลงท้ายด้วย ประโยคบอกเหตุผลからである ประโยคปฏิเสธではない และ ประโยคなった・ていく・てくるกันด้วยนะคะ
แต่งประโยคกันอย่างฟรีสไตล์เลย อยากให้ทุกคนไม่ใช่เเค่เราเอาไปใช้ให้ชื่นใจ คราวหน้าจะนำ常用表現แบบไหนมานำเสนอก็คอยติดตามกันด้วยนะคะ บายยยย








Sunday, March 8, 2015

Mid term 反省

เฮลโล่~~~

สัปดาห์มิดเทอมผ่านไปแล้วอย่างไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่ เอนทรี่นี้ mojimojeeจึงของมา反省ให้กับความสามารถของตัวเองเป็นของๆดังนี้คะ

1. หลังจากส่งรายงานถอดเสียงบรรยายสถานการณ์ในโรงเเรมให้อาจารย์แล้วรู้สึกว่า สิ่งเเรกที่ควรปรับปรุงด่วนๆเลยคือ การออกเสียง
ออกเสียงつ ไม่ชัดเลย ฟังดูประหลาดสุดๆ เสียงควบอย่างきょう みょう ก็ฟังย๊ากยาก เราคงต้องอ้าปากให้กว้างๆกว่านี้เเล้วละ

2. ยังไม่จบจากบทบรรยาย รู้สึกว่าตัวเองใช้だよねーสิ้นเปลืองมากๆๆๆ บางที่ไม่จำเป็นต้องだよねーก็ได้ แต่เราก็พูด

3.แต่รู้สึกว่าなんか และ あのうน้อยลง เพราะพยายามมีสติตลอดๆ

4.รู้ตัวเลยว่าอ่านภาษาญี่ปุ่นน้อยลง เว็บnhk easyเจ้าประจำเดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยสนิทกันเเล้ว คงต้องกลับไปง้อใหม่แล้วละ

5. เพื่อทำให้ภาษาญี่ปุ่นชินตามากขึ้น ต่อไปนี้มือถือ เฟซบุ๊ค ทวิสเตอร์ อินสตราแกรม เราเซตเป็นภาษาญี่ปุ่นไว้หมดเลย มองมันเข้าไปคันจิ อย่างน้อยก็ต้องเข้าหัวสักตัวสองตัวแหละน่า


เป็นไงบ้างคะเพื่อนๆ อยากรู้反省ของเพื่อนๆบ้างจัง ถ้าใครมีคำแนะนำดีๆก็เชิญคอมเม้นด้านล่าง จักเป็นพระคุณยิ่ง เลิฟนะจ๊ะ เจอกันใหม่คราวหน้ากับ常用表現ที่น่าสนใจได้ในเร็วๆนี้นะคะ

Wednesday, February 25, 2015

常用表現 Part3

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ 

ครั้งนี้กลับมาอีกครั้งกับ常用表現ที่(น่าจะ)มีประโยชน์กับใครหลายๆคนในเวลานี้ วันนี้ขอนำเสนอ表現ที่ใช้ในการเขียน学習計画書หรือstydy planที่รักของทุกๆคนนั้นเองค้าาาา

มาเริ่มกันที่สำนวนแรก ~ことを明らかにするและ~明確にする(อ่านว่าめいかく)ใช้เวลาที่เราต้องการเกริ่นหัวข้อที่เราอยาก研究หรือพูดง่ายๆคือ ทำให้กระจ่างค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น 化粧品のイメージを表すキーワードを明らかにしたいと思う。

แปลในแบบของเราคือ อยากทราบว่าคำศัพท์ที่ปรากฎในสื่อโฆษณาเครื่องสำอางมีภาพลักษณ์อย่างไร


สำนวนต่อมา~的に重要な意義を持つと言える。
ยกตัวอย่างเช่น 先行研究は社会的に重要な意義を持つ。

แปลในแบบของเราคือ งานวิจัยที่อ้างถึงนี้มีความคุณค่าในเชิงสังคม

 

ว้าว ฟังดูเลอค่ามาก


และสำนวนสุดท้ายที่น่าสนใจมากๆคือ~したものは見当たらない。
ยกตัวอย่างเช่น 日本語とタイ語を対象に携帯メールのCSに関して研究したものは見当たらない

แปลว่า งานวิจัยเกี่ยวกับcode switchในการใช้ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นในการเขียนอีเมลทางโทรศัพท์เป็นงานวิจัยที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

สำหรับเอนทรี่นี้ mojimojeeก็ขอให้ทุกคนนำ表現ที่สุดแสนจะเลิศหรูดูดีเหล่านี้ไปใช้(แทนประโยคplainๆ)และขอให้เพื่อนๆโชคดีในการสอบทุนกันทุกคนเลยนะคะ


Tuesday, February 17, 2015

常用表現 Part2


สวัสดีค่ะเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน
เช่นเคย วันนี้จะมานำเสนอ表現ที่ใช้กันบ๊อยบ่อยในชีวิตประจำวัน แต่วันนี้จะพิเศษหน่อยตรงที่จะมาเป็นคู่ค่ะ ควันหลงวันวาเลนไทน์นิดหน่อย(ฮา) เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยค่ะ

คู่ที่1
รูปますตัดますเติมがたい VS รูป ます ตัดますเติมかねる
例: 彼女の気持ちは理解しがたい。
彼女の気持ちは理解しかねる。
เอ~มันต่างกันยังไงน้า ปวดหัวจริง
理解しがたい ในที่นี้มีความหมายว่า 理解するのは難しい
ในขณะที่理解しかねる มีความหมายอย่างที่รู้กันว่า 理解できない เห็นมั๊ยๆใลมันต่างกันน้า

คู่ที่ 2 
รูปますตัดますทิ้งแล้วเติม 終える VS 切る
例: 長編小説を読み終えた。
長編小説を読み切った。
読み終えた มีความหมายว่า全部読んでしまった。มีเซนต์ที่ว่า時間の経過とともにおしまいになる
ส่วน読み切った มีความหมายว่าอ่านจนถึง最後までやったและ残りがないนั้นเอง

คู่ที่ 3

他に VS 別に
例: 今日は他にすることがない。
今日は別にすることがない。
เหมือนจะเหมือนแต่จริงๆแล้วต่างตรงที่ 他にมีความหมายว่า 大事なこと/やるべきことが終わって何も残っていない。
แต่ 別に มีความหมายว่า 何もない/ 特に~ない/ 大事なことがない นั้นเอง

คู่ที่ 4
たところ VS たばかり
 
例: 日本に着いたところです。
日本に着いたばかりです。
สอง表現นี้สับสนกันไปมาเหมือนปัญหาโลกแตก เราเองยังเคยใช้ผิดเลย ลองมาดูความหมายกันดีกว่าค่ะ
たところในที่นี้มีความหมายว่า 着いて、あまり時間が過ぎていない(本当の時間)
ส่วนเจ้า たばかり ในที่นี้มีความหมายในเซนต์ของผู้พูดเองที่ว่า 話す人にとって、短い時間นั้นเอง

คู่ที่ 5
的 VS 風
 
 
 
例: 日本的な料理を作ろう。
日本風の料理を作ろう。
เอ แค่คันจิตัวเดียวนี่ต่างกันด้วยหรอ
ต่างค่ะ 
的สื่อความหมายถึง~の条件をかなり満たしている。ดังนั้น日本的な料理ในที่นี่จึงมีหมายถึง和食

ในขณะที่日本風の料理 มีความหมายว่า~ のように見えるが違うかもしれない/~っぽい ดังนั้น 日本風の料理 ในที่นี้จึงมีความหมายว่า 日本ぽい料理
 
 
 
ว้าวๆ ไม่ยากอย่างที่คิดเนอะ เอาละ เราลองมาทำแบบฝึกหัดกันดีกว่า
1. 日本語の宿題を( やり終えた/やり切った)後、英語の宿題をやるつもりだ。
2. 彼が言ったことを何回も考えても、全然(理解しがたい/理解しかねる)。
3. 家族のために、心を合わせて、作った晩ご飯を(できたところ/できたばかり)で、子供たちが学校から帰りました。
4. 学校の後、( 別に/ 他に)やりたいことをまだ、考えていない。
5. 京都のおみやげだったら、江戸(的/風) な/のおもちゃを買いたいです。

และเฉลยจะตามมาในคอมเม้นเช่นเคย ลองทำกันเยอะๆน้าาาา

Monday, February 9, 2015

常用表現 Part1

常用表現 Part1


เอาละ ในที่สุดก็ได้เข้าเรื่องจริงๆกันสักที
ตามที่เขียนใน目標ของบล็อกนี้ (หาดูได้จากข้างๆนี้ค่ะ→)
คือ เราจะมาเพิ่มพูน表現ที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันกัน สำนวนแรกของวันนี้ขอเสนอสำนวนที่เราไว้ใช้เรียกพนักงานให้มาคิดเงินโต๊ะเรา สำนวนนี้คือ
お勘定お願いします
คันจิ 勘定 อ่านว่า かんじょう

 
คุ้นๆกันมั๊ยเพื่อนๆ คำนี้เราเจอกันวันนี้ตอนที่อ่านเรื่องสั้นในคาบJap readไง
ตรง 勘定がたまって支払いに困り
ที่แปลว่า ยอดบิลที่สั่งสมทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินได้

ที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่เวลากินเสร็จเราจะลุกไปจ่ายเงินที่レジใช่ม้า แต่บางประเทศเช่นประเทศไทยนิยมเรียกพนักงานมาคิดเงินที่โต๊ะมากกว่า
ถ้าพนักงานบางคนอัธยาศัยดี เค้าจะถามเราว่า
料理は、お口に合いますか。
แปลตรงกับภาษาไทยเลยว่า อาหารรสชาติถูกปากมั๊ยค่ะ

สมัยทำร้านอาหารไทยแล้วมีลูกค้าญี่ปุ่นมาทานที่ร้านเราเคยใช้สำนวนนี้นะ นางก็ยิ้มมมมดีใจ เจอคนหน้าจีนๆอย่างเราที่พูดญี่ปุ่นได้(หนึ่งประโยค) ได้ทิปมาสามเหรียญ (ประมาน90บาทเเน่ะ) เพราะฉะนั้นถ้าใครมีโอกาสได้ไปทำバイトที่ญี่ปุ่นก็อย่าลืมลองเอาไปใช้กันดูนะคะ

ไปละ บายยย

Tuesday, February 3, 2015

อธิบาย研究ของตัวเองให้คนญี่ปุ่นฟัง ทำไมมันยากเย็นอย่างนี้นะ

เคยอธิบาย研究ของตัวเองให้คนญี่ปุ่นฟังมั๊ย?
การอธิบาย研究คือการพูดเรื่องยากๆของเราให้คนที่ไม่มีอะไรเชื่อมโยงกะความคิดเราเลยยยย เข้าใจให้ได้ ดังนั้นเราก็ควรที่จะพูดอะไร ที่ฟังง่ายเเละกระชับใช่มั๊ย
ก็น่าจะประมานนี้แหละนะ

และนี่ก็คือคำอธิบายเคงคิวที่โพสลงไปในLang 8
私は化粧品CMにおける言葉について研究しています。美しさに対して、
女性がどんな意識があるかを理解するように、
言葉の頻発を計算して、よく出る言葉を分析します。
その後、要点を確認するために、20ー30歳の女性を対象して、
アンケートを取ります。
 
 
เราว่ามันยาวไปนะ คนญี่ปุ่นเลยมาตอบแค่ 2คนเอง...เศร้า
 
เค้าเเก้ตรง Hi,皆さん ที่เราใส่ทักทายก่อนจะบอกเค้าให้ช่วยแก้ให้หน่อย
เค้าบอกว่าต้องพูดเป็น こんにちは。みなさん
 
จ่ะ
 
เราตอบกลับไปเป็นภาษาอังกฤษ เพราะอยากรีบขอบคุณ แต่ตอนนั้นพิมญี่ปุ่นไม่ได้
ตอบกลับไปว่า ขอบคุณนะที่แก้ให้ ฉันเพิ่งรู้นะว่าเราพูด 'Hi' เป็นคำทักทายในภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ 
ฉันนึกว่าพวกวัยรุ่นเค้าพูดกันซะอีก
 
นางคงเกลียดชั้น...
 
อีกคนนึงแก้ดีมาก
เค้าบอกว่า 
... 女性がどんな意識がある ให้แก้เป็นをもつ
เพราะภาษาไทยเราพูดว่า มีทัศนคติอย่างไง คำว่า'มี' เนี่ย คนไทยชอบใช้กับverd あるแบทจะ100%เลยนะ 
โดยมีลืมคิดไปว่าในภาาาญี่ปุ่นเราใช้verbもつที่แปลว่าถือ ก็ได้นะ แล้วก้

かを理解するように ให้เปลี่ยนจากするเป็นできる 
เออ ก็จริงนะ verbรูปสามารถ ตามด้วยようになるคือ ทำอะไรเพื่อให้กลายเป็นสามารถ
ปกติเราใช้ผิดบ่อยมาก
ถ้าใช้กริยารูปพจนานุกรม แล้วตามด้วยようになる เเปลว่า เปลี่ยนไปเป็นverbนั้นๆ เช่น ビールを飲むようになる。 
แปลว่า เริ่มดื่มเบียร์ (แบบก่อนหน้านี้ไม่เคยดื่ม แต่ตอนนี้ดื่มแล้ว)
แต่ถ้าใช้verb รูปสามารถ แล้วตามด้วยようになる ความหมายจะแตกต่างออกไป
เช่น 20歳になたっら、ビールを飲めるようになる。 
แปลว่า พออายุ20 จะสามารถดื่มเบียร์ได้
คือก่อนหน้านี้ดื่มไม่ได้ไง เพราะผิดกฏหมาย อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ แต่ถ้าอายุ20เมื่อไหร่ ก็จะสามารถดื่มได้ ไม่ผิดกฏหมาย

สงสัยนิดนึงคือควรจะใช้ を飲める หรือが飲めるดี

อีกนิดนึงแก้ตรงคำศัพท์ 言葉の頻発 ใช้คำว่า 頻発 ไม่ค่อยดี ใช้ 頻度 ที่แปลว่าความถี่ จะดีกว่า

สิ่งที่คิดว่าตัวเองควรปรับปรุงก็คือ
1.อย่าแปลภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่น คำว่า มี ไม่จำเป็นต้องเป็นがあるอยู่เสมอ ต้องขยายขอบความคิดออกไปบ้าง
2.ลองใช้เว็บที่อาจารย์กนกวรรณแนะนำให้เป็นประโยชน์ ดูความถี่ว่าcollocation แบบไหนนิยมใช้มากที่สุด
3.ต้องกลับไปทวนไวยากรณ์ชั้นต้น เพราะแม้จะเป็นจุดเล็กๆในระดับN4 เราก็ควรให้ความสำคัญ อย่าปล่อยผ่านไป
4.เลิกใช้ดิกอังกฤษญี่ปุ่นได้เเล้ว คำศัพท์ที่ได้มาไม่เคยนำพาเลยสักครั้ง ต้องบังคับตัวเองให้ใช้国語辞典ให้ได้
 
รวมๆก็เท่านี้เเหละ
 
ขอบคุณคุณ Taka และคุณAkifumi เป็นอย่างมากในโอกาศนี้ด้วยนะคะ มีโอกาศหนูจะเข้าไปช่วยเเก้ภาษาของคุณมั่งคะ ว่าแต่...จะมีวันนั้นมัียน้าาา 
 
 

Wednesday, January 28, 2015

意味がたくさんある言葉 part2

ย้าฮู้~มาแล้วๆๆ อัพซะดึกเลย พรุ่งนี้มีเรียนเช้าด้วย ขอมาแบบสั้นๆและไปเร็วๆเลยนะ

วันนี้จะมาพูดถึงคำว่า 言う 教える และ伝えるกันคะ
ถ้าถามว่ามันต่างกันยังไง ทุกคนต้องรู้กันอยู่แล้วละ
言う คือพูด แบบแค่ถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นคำพูดออกมา เทียบกับภาษาอังกฤษง่ายมาก คือ he said...she says...
教える คือบอก หรือสอน คล้ายๆแจ้งให้ทราบ บอกให้รู้ ประมานนั้น
伝える คือแจ้งให้ผู้อื่นทราบ บอกต่อ เผยแพร่ (เผยแพร่ศาสนาก็ใช้คำนี้นะ) ส่งข้อความต่อไปยัง อะไรอย่างงี้ก็ได้

แต่สามคำเนี้ย มันเบสิกเกินไป ถ้าเกิดเรามีfeelingที่ต้องการจะ แจ้งอะไรให้ใครทราบ ป่าวประกาศออกไป แบบต้องการให้คนเค้ามีความรู้สึกร่วมไปกับเรา เราจะใช้คำว่า

訴える อ่านว่า うったえる

โดยปกติคำนี้มักจะแปลว่า ฟ้อง เช่นฟ้องศาล ฟ้องเจ้านาย
ตัวอย่างประโยคมาค่ะ 患者の家族は医療ミスで病院を訴えた。
แปลว่า ครอบครัวของผู้ป่วยฟ้องร้องโรงพยาบาลฐานความผิดพลาดทางการแพทย์
แต่นอกจากฟ้องแล้ว 訴える ยังใช้ในความหมายแจ้งให้ทราบได้อีกด้วย
เช่น 太郎くんは腹痛を先生に訴えている。
แปลว่า ทาโร่คุงแจ้งอาการปวดท้องให้อาจารย์ทราบ
การแจ้งในที่นี้มักจะแจ้งอาการ不満 หรือ 症状ของร่างกาย มากกว่าจะเเจ้งเรื่องทั่วๆไป เพราะถ้าทั่วๆไปก็กลับไปใช้教えるแบบเดิมเหอะ แต่訴える มีมีเซนต์ของการเรียกร้องให้เห็นใจฉันหน่อยและช่วยรับรู้ทีว่าชั้น不満อยู่

อีกความหมายที่ใช้ได้คือ ป่าวประกาศ
เช่น市民は戦争反対を訴えるデモを行った。
แปลว่า ชาวบ้านออกมาประท้วงต่อต้านสงคราม






แหม่ พอแปลออหมาเป็นไทยนี่ไม่มีคำว่าป่าวประกาศเลยนะ แต่ทุกคนเห็นภาพใช่มะ มันไม่ใช่戦争反対を伝えるためのデモ แต่มันประกาศแบบเเสดงความประสงค์ จึงประกาศ

อีกคำนึงที่น่าสนใจคือ 削る อ่านว่าけずる ที่ปกติเราจะคุ้นกันในความหมายว่า เหลา
เช่น えんぴつをナイフで削る。
แปลว่า เหลาดินสอด้วยมีด

อีกความหมายหนึ่งของคำนี้คือ ลด ลดแบบ減る ลดแบบตัดออกไป
เช่นゲームをやる時間を削って、一生懸命勉強しようと思う。
แปลว่า ตั้งใจว่าจะลดเวลาเล่นเกมลงแล้วมุ่งมั่นเรียนหนังสือ
ลดในที่นี้ไม่ได้ลดที่ปริมาณ แต่ลดแบบตัดส่วนหนึ่งออกไปเพื่อไปทำสิ่งอื่น นั้นเอง

สรุปก็คือ คำกริยาบางคำที่เรามีในคลังน้อยๆของเราเนี่ย บางทีเราคิดว่ามันเยอะเเล้ว แต่จริงๆมันยังไม่เยอะนะ บางบริบทเรามัวแต่ไปใช้คำซ้ำๆกะสถานการณ์ตัวอย่างในหนังสือเรียน มันอาจจะสื่อความได้ไม่ครบก็ได้นะ เพราะฉะนั้น หมั่นทบทวนบ่อยๆและอย่ายอมแพ้นะทุกคน สู้ๆ ฮึ้บๆๆๆ

มาอ่านข่าวญี่ปุ่นในไทยกันมั๊ยเอวี่บอดี้ <<อันนี้นอกเรื่องนะ

รู้สึกมั๊ยว่าระยะหลังๆมานี้ คนญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในไทยกันเยอะมาก

เยอะมากแบบเข้ามาอยู่เลยนะ ไม่ใช่มาเที่ยวเเล้วกลับไป

ไม่ต้องไรมาก ถ้าขึ้นรถไฟฟ้าทุกวัน เฉลี่ยต่อสัปดาห์ต้องได้ยินเสียงภาษาญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า5วันแน่ๆอะ เราคอนเฟริม

พอคนญี่ปุ่นมาอยู่ไทยมากขึ้น สิ่งที่ตามมา(แบบไม่น่าจะตามมา) คือ ข่าว

ข่าวใดๆก็ตามที่เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นในไทย มักจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ อย่างน้อยๆก็จากเราเองแหละ

ทีนี้ เราไปคิดถึงข่าวหนึ่ง เรื่องชายคนญี่ปุ่นจ้างคนไทย'อุ้มบุญ'

อุ้มบุญคืออะไร
อุ้มบุญคือการเอาน้ำเชื้อของฝ่ายชายไปใส่ไว้ในรังไข่ของฝ่ายหญิง แล้วให้ผู้หญิงคนนั้นอุ้มท้องไปจนครบกำหนดคลอด พอคลอดออกมา เด็กคนนั้นจะไม่ถือเป็นลูกของผู้อุ้มครรภ์แต่จะเป็นลูกของผู้เป็นเจ้าของน้ำเชื้อแทน

เอิ่ม ยาก


เอาละ แต่คำถามคือ ถ้าต้องแปลข่าวนี้ หรืออธิบายเรื่องนี้ เป็นภาษาญี่ปุ่น จะทำยังไงดี

#น้ำลายฟูมปากแปปนะ
จากการไถ่ถามผู้รู้ ซึ่งก็คืออาจารย์สอนพิเศษของเราเอง ได้ความว่า
คำที่น่าจะสื่อความหมายได้ตรงที่สุดน่าจะเป็นคำว่า代理出産 อ่านว่า だいりしゅっさん มันไม่ใช่คำหนึ่งคำหรอกนะ มันคือการเอาคำสองคำมาชนกัน
代理(だいり)แปลว่า การทำแทนกัน หรือจัดการโดยยืมความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม อะไรประมานนี้
เช่น 会議に社長の代理で出席している。
แปลว่า เข้าร่วมการประชุมแทนท่านประธาน

ส่วน 出産 (しゅっさん) แปลว่า คลอด หรือให้กำเนิดนั้นแหละ สังเกตคันจิ 出 มักจะมีความหมายเกี่ยวกับอะไรที่ออกมาใช่ม้า คันจิอีกตัวคือ 産 เนี่ย อ่านอีกอย่างได้ว่า う ใน 産まれ แต่เป็นคันจิที่ไม่ค่อยนิยมใช้ เรามักจะใช้ 生まれ กันซะมากกว่า

ความหมายเดิมเด๊ะๆ เช่น 娘は男の子を出産しました
แปลว่า ลูกสาว ให้กำเนิด หลานชาย

โห ยากเนอะ ภาษาไทยอะยาก ยากซะจนคิดภาษาญี่ปุ่นไม่ออกเลย

โพสนี้สั้นๆ เพราะอีกโพสจะตามมา
รอแปปนะจ๊ะ


Friday, January 23, 2015

意味がたくさんある言葉 part1

สวัสดีค้า~



ただいまสู่ไทยแลนด์ ดินแดนข้าวมันไก่อร่อยกว่า รถติดกว่า และไชน่าทาวน์สกปรกกว่า เฮ้~
เพิ่งกลับมาแหละ สิงคโปร์ดีนะ เจอคนญี่ปุ่นด้วย หล่อ...
ไม่เกี่ยว!!
ที่เกี่ยวคือ วันนี้ เราจะมาพูดถึง"คำกริยา" ที่เราคุ้นเคยและเคยพูดกันทั้งนั้นแหละ (เราว่านะ)
แต่เราพูดแบบไม่โปรไง เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาอัพเวลกัน

เริ่มด้วย คำที่1 คำว่า"ซอย" ในที่นี้สงวนไว้แค่ซอยสิ่งของนะคะ เช่น ต้นหอมผักชีแครอทหัวไชเท้าผักกาดขาวกระเทียมส้มเขียวหวาน โอยพอ! อันสุดท้ายไม่ซอย
แต่ก็นั้นแหละค่ะ คำนี้เราพูดบ่อยเนอะ ประมานว่าชวนเพื่อนญี่ปุ่นมา料理会ที่หอแล้วอยากให้เค้าช่วยซอยネギให้หน่อย ปกติเราจะพูดว่า →細かく切ってもらう? หรือ →小さく切ってくださいね <<ซึ่งผิดนะ ถ้าเป็นเราเราจะไม่พูด

ไม่โปรเลยอะเธอ เราขอเเนะนำ คำว่า 刻む อ่านว่าきざむ แปลความหมายแรกว่า หั่นซอย
เช่น 野菜を刻んで、鍋に入れる。
แปลว่า หั่นผักแล้วใส่ลงในหม้อ
ง่ายจุง แค่นี้เอง คนญี่ปุ่นเกต 刻むในที่นี้คือการหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก หรือซอยนั้นแหละ 

อีกความหมายนึงคือ "สลัก" ที่ไม่ใช่แกะสลักนะ แต่คือสลักคำหรืออักษรย่อลงไปบนของแข็งๆ เช่น แหวน หิน ผนังถ้ำ
เช่น 指輪に恋人の名前が刻まれている。
แปลว่า สลักชื่อคนรักลงบนแหวน 
อารมณ์การสลักอะไรสักอย่างมันก็คือสลักนะ ถ้าเราใช้ 指輪に恋人の名前が書かれている。มันจะไม่ใช่อะ เพราะ書くคือเอาดินสอมาเขียน เเต่นี่คือสลัก แค่ภาษาไทยมันก็คนละอย่างกันนะ
นอกจากของแข็งๆแล้วยังสลักอย่างอื่นได้อีกด้วย แต่ความหมายจะเป็นนามธรรม
เช่น 先生の言葉が今も胸に深く刻まれている
แปลว่า จนถึงขณะนี้คำพูดของอาจารย์ยังสลักลึกอยู่ในใจ
ว้าวววววววว
มีอีกๆ อีกความหมายนึงของ刻むคือ "ผ่านช่วงเวลานานๆๆ" ลองอิมเมจผ่านดิ แบบซอยอะไรก็ต้องทำถี่ๆทำนานๆใช่มะ ก็คือผ่านกระบวนการหรือช่วงเวลามานานนั้นแหละ
เช่น この店が時間を刻んでも、そのまま残ってる。
แปลว่า แม้ร้านนี้จะผ่านมานานแต่ก็ยังคงอยู่สภาพเดิม
เป็นต้นนะคะ

อีกสักคำไหวมั๊ย
คำว่า 押すที่แปะไว้ตามประตูแปลว่า ผลัก แปะไว้บนก็อกน้ำหรือปุ่มทั่วไป แปลว่า กด แต่คันจิตัวนี้ยังมีความหมายอื่นอีกด้วยนะ

มาลองดูกัน ถ้าเป็น押さえるล่ะ
帽子が飛びないように押さえておく หรือ 彼女が苦しそうな顔をして、お腹を押さえている。
押さえるในที่นี้จะแปลว่าอะไรดี
น่าจะเป็น"กุม"เนอะ
ลองนักแอคชั่นดิ 
ผลัก กด ดัน กุม ในภาษาญี่ปุ่นคำหนึ่งคำหรือคันจิหนึ่งตัว ต่อให้มันแปลงร่างกลายเป็นคำอื่น ส่วนใหญ่ก็ยังคงคงรากศัพท์เดิมๆที่เราเคยเรียนตอนชั้นต้นมาเเล้วทั้งนั้นแหละ

อีกสักความหมายนะ 
会議の前に押さえてもらいたいことが二つがある
「押さえてもらいたいこと」ในที่นี้ อย่าแปลตรงๆว่าเรื่องที่อยากให้กดให้หน่อยนะ เพราะมันแปลว่า เรื่องที่อยากให้"สรุป"ให้หน่อยต่างหากละ
นึกภาพ(อีกแล้ว) เวลาเรากดอะไรสักอย่างมันก็เหมือนรวมอะไรที่ลอยๆอยู่ให้ลงมาที่ตรงจุดเดียวปะ เหมือน要点を押さえるนั้นแหละ

แค่นี้เอง ดีมั๊ย น่าเบื่อมั๊ย อธิบายงงมั๊ย ตัวอย่างน้อยไปมั๊ย
วันนี้เราพูดถึงศัพท์แค่สองตัวเองนะ คือ きざむ →หั่นซอย สลัก และผ่านกาลเวลา กับ 押さえる→ ผลัก กด ดัน กุม และสรุป

เอาไปใช้กันด้วยน้า ไปละ ง่วง บนเครื่องก็นอนนะ เเต่ง่วง ไปละๆ